วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียนที่ดี
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
1.ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2.จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3.ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4.ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5.จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6.สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
การจัดโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้
1.ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2.ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3.ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4.ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
5.ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6. แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ

การจัดโต๊ะครู
1.ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
การจัดป้ายนิเทศ  
ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
1.จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2.จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4.จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง



วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพ
"ครูอาชีพ" หมายถึง ครูที่เป็นครูด้วยใจรัก มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู ประพฤติตัวดี   วางตัวดี    เอาใจใส่และดูแลศิษย์ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู
ครูมืออาชีพพึงประพฤติตามหลักปฏิบัติ โดยตั้งตนอยู่ในธรรม 5 ประการ
              - จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
              - จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
              - ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี
              -  ไม่มีจิตเพ่งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส
              - วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น
       ครูมืออาชีพมี 4 รู้
             - รู้จักรัก
             - รู้จักให้
             - รู้อภัย
             - รู้เสียสละ
   ครูมืออาชีพมี 5 ว.
             - วินัย
             - วิชา
             - วิธี
             - วิจารณญาณ
             - เวลา
   ครูมืออาชีพยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
             - ครู เป็นผู้ชี้ทางแห่งความรู้
             - ครู ต้องเป็นนักเทคโนโลยี
             - ครู ต้องรู้ภาษาอังกฤษ

   เส้นทางสู่ ครูมืออาชีพ
       ความหมายครูมืออาชีพ
                - ครูที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความรู้ ทักษะความสามารถในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนและได้รับการยกย่อง
                - ครูที่มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การประเมินองค์รวมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาและประเมินหลักสูตร การศึกษาค้นคว้าวิจัย การเป็นผู้นำ การส่งเสริมและแก้ปัญหาของผู้เรียน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกับชุมชน

       ลักษณะของครูมืออาชีพ
        1) สอนดี
                - จัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
                - จัดสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความต้องการและตามสภาพของผู้เรียน
                - จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด ปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
                - จัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสาถานที่ สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
        2) มีคุณธรรมและวินัย
               - ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและจรรยาบรรณครู
               - ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยข้าราชการครู
       3) ใฝ่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาตนเอง
                - ศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนทักษะและมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน
                - พัฒนาการเรียนการสอน
                - จัดกระบวนการเรียนรู้ที่บ่งชี้ว่า สอนดี อย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาผู้เรียน
                 - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้ ดี เก่ง และมีสุข

กระบวนการพัฒนาการสอนสู่ครูมืออาชีพ 5 ขั้นตอน
               - ประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบจุดเด่น - จุดด้อย
               - พัฒนาความรู้ความสามารถรอบด้าน
               - จัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
               - สรุปผลงาน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้
              - เสนอผลงานสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ  

กิจกรรมพิเศษ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การสอนเพื่อที่จะให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจนั้นควรสอนด้วยการลงมือทำ ทำให้เขาดูและให้เขาลงมือปฏิบัติจริงจึงจะทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่สอนแบบขอไปที  การสอนจะต้องมีความใจเย็นรู้และเข้าใจถึงความต้องการ ความแตกต่างของแต่ละคนแล้วหาสิ่งที่เขาขาดหายนั้นมาเติมเต็มให้กับเขาผู้นั้น                                                                        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนนักเรียนให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง โดยจะลงมือทำให้นักเรียนดูแล้วสอนให้เขาลงมือทำจริงได้ นักเรียนจึงจะเกิดความรู้อย่างแท้จริง และจะพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน กล้าที่จะเสนอแนวความคิดที่แตกต่างออกมาเพื่อที่จะเกิดการพัฒนาต่อไปจะได้เกิดองค์งามรู้ใหม่ๆขึ้นมาในชั้นเรียน

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                ในฐานะที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคต ดิฉันจะสอนนักศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อที่นักเรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
การสอนด้านทฤษฎีและปฏิบัตินั้นมีลักษณะดังนี้คือ
การเตรียมการสอนเรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องนครศรีธรรมราช
2.เรียบเรียงข้อมูลนครศรีธรรมราชที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้ แผ่นพับ แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำแบบทดสอบทั้งปรนัย และอัตนัย
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
2.แจกแผ่นพับนักเรียนเรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับเพื่อที่จะทำแบบทดสอบ
4.นักเรียนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย
 5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็แจกใบความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช
6.นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน ทำรายงานเรื่องผลิตภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ส่งแบบร่างรายงานอาทิตย์ถัดไป


บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
            การที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นคนเราไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งเสมอไป แต่ต้องเกิดจากใจรักจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้  และการทำงานจะทำคนเดียวไม่ได้จะต้องมีการร่วมมือกันทำงานของบุคคลหลายกลุ่ม จะได้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลากหลายงานจึงจะประสบผลสำเร็จได้  และในการทำงานเราก็ควรที่จะเอาใจใส่คนอื่นด้วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สิ่งตอบแทนที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน ทอง แต่จะเป็นน้ำใจให้กันก็พอก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่แน่นหนามากขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด
ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
การเตรียมการสอนเรื่องความสามัคคี
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี
2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม
 

 


        

กิจกรรมที่ 7

ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่องฉันรักอุทัยธานีสอนโดย
ผู้สอนคุณครูประจักษ์ เอี้ยงเขื่อน โรงเรียนสว่างอารมณ์วิทยาคม  
ระดับชั้นที่สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            ต้องการให้นักเรียนภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย กิจกรรมการเรียนนั้น ครูสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเกื้อหนุนต่อนักเรียนในท้องที่นั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนั้นทำเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเองที่อาศัย  
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา
-  คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
- นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการสำรวจชุมชน
ด้านอารมณ์
- นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน
- นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน
- นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงาน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
- ให้นักเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ปรึกษาร่วมกันได้
- ติดพัดลมภายในห้องเรียนทำให้นักเรียนไม่ร้อนจึงมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น
- มีการติดข้อมูลความรู้ต่างๆไว้บริเวณห้องเพื่อให้นักเรียนไว้อ่านเพิ่มเติมความรู้
- มีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น



กิจกรรมที่ 6

เพื่อน

    



      เพื่อนมีหลายรูปแบบทั้งเพื่อนแท้ เพื่อนไม่แท้ แต่สำหรับฉันเพื่อนคือคนที่เรารักเปรีบยเสมือนคนในครอบครัวที่เราสามารถร่วมทุกข๋ร่วมสุขกันได้