วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
                ด้านการเรียน
             การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
                ด้านหลักสูตร
             สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
           "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
          เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป

จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต พีซี
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต พีซี
                  1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
                              2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
             4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
                             5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
แท็บเล็ตการศึกษา เสริมปัญญาจริงหรือ?. 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555. บทความทางวิชาการ.
http://www.jrw.ac.th/web/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=3
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษาhttp://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028
18/06/2012 View: 1,633 "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภักดี ขจรไชยกูล รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร   http://www.pnru.ac.th/offi/arit/

 2.สมาคมอาเซียน
                ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Communityประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดนีเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียดนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัมพูชา (2542)   มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก  ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
                1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
                2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
               1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
                2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
                3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น 
                4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ประเทศไทย
                ประเทศไทยของเราอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศสมาชิกรวมกัน 10 ประเทศ และกำลัง                ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ สินค้า (Free flow of goods) แรงงานฝีมือ (Free flow of skilled labor) การบริการ (Free flow of services) การลงทุน (Free flow of investment) เงินทุน (Free flow of capital)
              ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ นั้น หลายท่านอาจจะยังงงๆอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร เกิดความวิตกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประกอบวิชาชีพของตัวเอง โดยเฉพาะท่านที่ประกอบวิชาชีพเฉพาะ คือเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Department of Trade Negotiations) ของไทย มีความชัดเจนในกลุ่มวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ โดยมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) แล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาเซียน ซึ่งสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกต่างๆได้
จนถึงขณะนี้มี MRAs ทั้งหมด 7 สาขาวิชาชีพได้แก่   วิศวกรรม(Engineering Services)      พยาบาล          (Nursing Services)  สถาปัตยกรรม   (Architectural Services) การสำรวจ     (Surveying Qualifications)แพทย์            (Medical Practitioners)   ทันตแพทย์    (Dental Practitioners)   บัญชี (Accountancy Services)  โดยเพิ่ม การท่องเที่ยวเป็นสาขาที่ 8   ซึ่งต่อไปอาจเพิ่มสาขาวิชาชีพอื่นๆมากขึ้นอีกเป็น สิบ ยี่สิบ สามสิบ หรือมากกว่าก็ได้  เราจะเตรียมตัวอย่างไร  คำถามยอดฮิตคือ "เตรียมตัวอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน"

                พลเมืองไทย ยังไม่พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                 การเกิดของประชาคมอาเซียนเป็นการค่อยๆเกิด ค่อยๆพัฒนา ค่อยๆเติบโต และค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการที่ถูกปล่อยให้พัฒนาไปช้าๆมาแต่แรกเริ่ม แต่มาถูกเร่งให้เป็นรูปธรรมโดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2558/2015อาเซียน เวลาของการเตรียมพร้อมนั้นน้อยมาก ความตื่นตัวในหมู่ประชาชนไทยเองยังไม่ปรากฏ นอกเหนือไปจากการทำกิจกรรมในสถาบันการศึกษาจำนวนไม่มากนัก ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังพบว่ารัฐบาลเองก็ยังไม่ตื่นตัว ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดๆเลยในอันที่จะนำทางประชาชนไปสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลปัจจุบันยังไม่ประกาศแผนปฏิบัติการส่วนของไทยในการไปสู่ประชาคมอาเซียนเลย
ดังนั้นภาคประชาชนจึงไม่มีทิศทางในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรอย่างไร เมื่อไร และจะพึ่งใครได้ ถ้าต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม     
 ประเทศเพื่อนบ้าน
                ใน 9 ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนยกเว้นประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนกันมากรัฐบาลมีการสนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและที่ได้เปรียบกว่าคนไทยนั่นก็คือภาษาอังกฤษจากผลสำรวจประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถาทงด้านภาษาอังกฤษน้อยที่สุด
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
                มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนภายในโรงเรียน การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กนักเรียนตลอดจนครูและบุลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 
การปรับเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดภาคเรียนในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียน ในปี 2557 ทุกมหาวิทยาลัย น่าจะมีความพร้อมใน การปรับเวลาเปิดเทอมในทุกหลักสูตรให้พร้อมกันทั้งหมด ขณะเดียวกันทาง ทปอ.ก็จะมีการพิจารณาปรับเรื่องการแอดมิชชั่นและรับตรง เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ไม่จำเป็นต้องปรับ ระบบการเปิดปิดภาคเรียนตามไปด้วย

ดร.ชูศักดิ์   ประเสริฐ

                การเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะดังนี้จึงจะเป็นผู้นำที่ดี
                - ผู้นำต้องมีคุณความดี มีความรู้ความสามารถ เป็นแบบอย่างให้บุคคลอื่นเกิดความศรัทธา และ มีความมั่นใจในตัวผู้นำ
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมั่นใจในตัวผู้ตามเอง ว่าเขามีศักยภาพที่จะทำกิจกรรมหรืองานให้สำเร็จได้
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมีการประสานมือประสานใจ มีความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงมุ่งสู่จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามมีความมั่นใจว่างานเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าและมีประโยชน์ จนทำให้เกิดความรักและอยากทำงาน มีความตั้งใจทำงานไม่ท้อถอยหรือท้อแท้
                 - ผู้นำทำให้ผู้ตามได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ หาวิธีสนับสนุนและส่งเสริม หรือให้โอกาสเขาได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                - ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะต้องมองกว้าง คิดในเชิงเหตุปัจจัย เชื่อมโยงอดีต ประสานปัจจุบัน และ หยั่งเห็นอนาคต
                - ผู้นำต้องใฝ่สูง หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ดีงาม สูงส่ง คือ ความดีงามของชีวิต ของสังคม และความเจริญก้าวหน้า มีสันติสุขของมวลมนุษย์ สูงสุด
                 เมื่อครูมีความพร้อมในทุกๆด้านก็จะกลายเป็นบุคคลที่น่ายกย่องนับถือและสามารถสอนผู้อื่นให้มีความรู้ความสามารถได้

 4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
                ในการเข้าเรียนทุกครั้งมีความพยายามที่จะตั้งใจเรียนและฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเพราะถ้าหากไม่ตั้งใจเรียนแล้วจะทำให้ไม้เข้าใจอะไรเลย เมื่อเป็นครูจะนำเอาความรู้ที่ได้ไปเปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียน
 เคยขาดเรียน 1 ครั้ง เนื่องจากไม่สบายและลา 1 ครั้ง เนื่องจากไปภาคสนามที่อีสานใต้ใจจริงไม่อยากจะขาดเรียนที่ขาดเรียนเนื่องจากมีความจำเป็น การทำงานบางชิ้นส่งตามที่อาจารย์สั่งและบางชิ้นส่งช้ากว่าปกติเนื่องจากปัญหา คือ การไม่มีอินเตอร์เน็ตแต่ก็พยายามส่งให้ทันทุกชิ้น การทำงานในบล็อกนั้นทำด้วยตัวเองไม่มีการ Copy จากผู้อื่น แต่ก็มีการเข้าไปอ่านของผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนอยากได้เกรด A เพราะว่าทำเองทั้งหมดและเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์สอนทั้งหมด










วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียนที่ดี
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
1.ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2.จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3.ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4.ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5.จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6.สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
การจัดโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้
1.ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2.ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3.ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4.ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
5.ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6. แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ

การจัดโต๊ะครู
1.ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
การจัดป้ายนิเทศ  
ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
1.จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2.จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4.จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง



วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพ
"ครูอาชีพ" หมายถึง ครูที่เป็นครูด้วยใจรัก มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู ประพฤติตัวดี   วางตัวดี    เอาใจใส่และดูแลศิษย์ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู
ครูมืออาชีพพึงประพฤติตามหลักปฏิบัติ โดยตั้งตนอยู่ในธรรม 5 ประการ
              - จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
              - จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
              - ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี
              -  ไม่มีจิตเพ่งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส
              - วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น
       ครูมืออาชีพมี 4 รู้
             - รู้จักรัก
             - รู้จักให้
             - รู้อภัย
             - รู้เสียสละ
   ครูมืออาชีพมี 5 ว.
             - วินัย
             - วิชา
             - วิธี
             - วิจารณญาณ
             - เวลา
   ครูมืออาชีพยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
             - ครู เป็นผู้ชี้ทางแห่งความรู้
             - ครู ต้องเป็นนักเทคโนโลยี
             - ครู ต้องรู้ภาษาอังกฤษ

   เส้นทางสู่ ครูมืออาชีพ
       ความหมายครูมืออาชีพ
                - ครูที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความรู้ ทักษะความสามารถในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนและได้รับการยกย่อง
                - ครูที่มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การประเมินองค์รวมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาและประเมินหลักสูตร การศึกษาค้นคว้าวิจัย การเป็นผู้นำ การส่งเสริมและแก้ปัญหาของผู้เรียน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกับชุมชน

       ลักษณะของครูมืออาชีพ
        1) สอนดี
                - จัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
                - จัดสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความต้องการและตามสภาพของผู้เรียน
                - จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด ปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
                - จัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสาถานที่ สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
        2) มีคุณธรรมและวินัย
               - ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและจรรยาบรรณครู
               - ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยข้าราชการครู
       3) ใฝ่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาตนเอง
                - ศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนทักษะและมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน
                - พัฒนาการเรียนการสอน
                - จัดกระบวนการเรียนรู้ที่บ่งชี้ว่า สอนดี อย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาผู้เรียน
                 - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้ ดี เก่ง และมีสุข

กระบวนการพัฒนาการสอนสู่ครูมืออาชีพ 5 ขั้นตอน
               - ประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบจุดเด่น - จุดด้อย
               - พัฒนาความรู้ความสามารถรอบด้าน
               - จัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
               - สรุปผลงาน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้
              - เสนอผลงานสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ  

กิจกรรมพิเศษ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การสอนเพื่อที่จะให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจนั้นควรสอนด้วยการลงมือทำ ทำให้เขาดูและให้เขาลงมือปฏิบัติจริงจึงจะทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่สอนแบบขอไปที  การสอนจะต้องมีความใจเย็นรู้และเข้าใจถึงความต้องการ ความแตกต่างของแต่ละคนแล้วหาสิ่งที่เขาขาดหายนั้นมาเติมเต็มให้กับเขาผู้นั้น                                                                        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนนักเรียนให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง โดยจะลงมือทำให้นักเรียนดูแล้วสอนให้เขาลงมือทำจริงได้ นักเรียนจึงจะเกิดความรู้อย่างแท้จริง และจะพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน กล้าที่จะเสนอแนวความคิดที่แตกต่างออกมาเพื่อที่จะเกิดการพัฒนาต่อไปจะได้เกิดองค์งามรู้ใหม่ๆขึ้นมาในชั้นเรียน

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                ในฐานะที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคต ดิฉันจะสอนนักศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อที่นักเรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
การสอนด้านทฤษฎีและปฏิบัตินั้นมีลักษณะดังนี้คือ
การเตรียมการสอนเรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องนครศรีธรรมราช
2.เรียบเรียงข้อมูลนครศรีธรรมราชที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้ แผ่นพับ แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำแบบทดสอบทั้งปรนัย และอัตนัย
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
2.แจกแผ่นพับนักเรียนเรื่องประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับเพื่อที่จะทำแบบทดสอบ
4.นักเรียนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย
 5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็แจกใบความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช
6.นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน ทำรายงานเรื่องผลิตภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ส่งแบบร่างรายงานอาทิตย์ถัดไป


บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
            การที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นคนเราไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งเสมอไป แต่ต้องเกิดจากใจรักจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้  และการทำงานจะทำคนเดียวไม่ได้จะต้องมีการร่วมมือกันทำงานของบุคคลหลายกลุ่ม จะได้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลากหลายงานจึงจะประสบผลสำเร็จได้  และในการทำงานเราก็ควรที่จะเอาใจใส่คนอื่นด้วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สิ่งตอบแทนที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน ทอง แต่จะเป็นน้ำใจให้กันก็พอก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่แน่นหนามากขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด
ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
การเตรียมการสอนเรื่องความสามัคคี
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี
2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม
 

 


        

กิจกรรมที่ 7

ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่องฉันรักอุทัยธานีสอนโดย
ผู้สอนคุณครูประจักษ์ เอี้ยงเขื่อน โรงเรียนสว่างอารมณ์วิทยาคม  
ระดับชั้นที่สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            ต้องการให้นักเรียนภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย กิจกรรมการเรียนนั้น ครูสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเกื้อหนุนต่อนักเรียนในท้องที่นั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนั้นทำเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเองที่อาศัย  
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา
-  คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
- นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการสำรวจชุมชน
ด้านอารมณ์
- นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน
- นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน
- นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงาน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
- ให้นักเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ปรึกษาร่วมกันได้
- ติดพัดลมภายในห้องเรียนทำให้นักเรียนไม่ร้อนจึงมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น
- มีการติดข้อมูลความรู้ต่างๆไว้บริเวณห้องเพื่อให้นักเรียนไว้อ่านเพิ่มเติมความรู้
- มีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น