วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


   ประวัติ "ครูแอ๋ว"


ประวัติส่วนตัว         
ชื่อ – สกุล
              นางอินทราพร    กาญจันดา         
วันเกิด
                   30  กันยายน   พ.ศ. 2499         
ที่อยู่ปัจจุบัน
            51  ถนนติวานนท์  38  ซอยทานสัมฤทธิ์  18   ต. ท่าทราย   อ. เมือง  จ. นนทบุรี  11000
      

ประวัติการศึกษา
           
   พ.ศ. 2512
  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7  โรงเรียนเทศบาล ๑ กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์   จ.กาฬสินธุ์           
   พ.ศ. 2515
  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนอนุกูลนารี  จังหวัดกาฬสินธุ์           
   พ.ศ. 2517  ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา  วิทยาลัยครูสกลนคร  จังหวัดสกลนคร           
   พ.ศ. 2519
  ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา  วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม  จังหวัดมหาสารคาม           
   พ.ศ. 2524
  ครุศาสตร์บัณฑิต (เอกพลศึกษา)  วิทยาลัยครูมหาสารคาม  จังหวัดมหาสารคาม           
   พ.ศ. 2542
  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพลศึกษา)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กรุงเทพมหานคร 

ประวัติรับราชการ
         
   พ.ศ. 2519
2546  สังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์   จ. กาฬสินธุ์  
ตำแหน่งครูตรี
 ถึง อาจารย์ 3  ระดับ 8         
   พ.ศ. 2547
ปัจจุบัน สังกัดเทศบาลนครนนทบุรี  จ. นนทบุรี 
ที่โรงเรียนนครนนท์วิทยา
   ทานสัมฤทธิ์ ตำแหน่งครู  วิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ครู คศ. 4) 

ประวัติพัฒนาวิชาชีพ
            
   พ.ศ. 2519
  รับราชการตำแหน่ง  ครูตรี พลานามัยที่โรงเรียนเทศบาล ๑ กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ 
        
   พ.ศ. 2520
  รับตำแหน่ง  ครู 2          
   พ.ศ. 2523
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 1  ระดับ 3        
   พ.ศ. 2527
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 1  ระดับ 4        
   พ.ศ. 2531
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 2  ระดับ 5        
   พ.ศ. 2534
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 2  ระดับ 6        
   พ.ศ. 2537
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 3  ระดับ 7        
   พ.ศ. 2539
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 3  ระดับ 8  ที่โรงเรียนเทศบาล ๓  วัดเหนือ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์        
   พ.ศ. 2547
  รับตำแหน่ง  อาจารย์ 3  ระดับ 9  ที่โรงเรียนนครนนท์วิทยา   ทานสัมฤทธิ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับชั้นสูงสุด
        
   ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพายสีแดง)
 

รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
         
   18
  เมษายน   2526  รับโล่ “พนักงานครูดีเด่น” จากกรมการปกครอง         
   16
  มกราคม  2537  รับโล่ “ครูผู้สอนดีเด่น”จากสำนักเลขาธิการคุรุสภา          
   1
  เมษายน   2537  รับโล่ “พนักงานครูดีเด่น” จากกรมการปกครอง        
   5
  ตุลาคม  2543  รับ “ เข็มคุรุสดุดี”จากสำนักเลขาธิการคุรุสภา        
  21 มกราคม
   2544  ชนะเลิศ “แฟ้มสะสมงานครู”ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทน.อุดรธานี)        
   29
  มกราคม   2548   “ครูผู้สอนดีเด่น”ระดับภาคกลาง (ทน.นนทบุรี)        
   17
  มีนาคม   2549  รับโล่ “ครูดีเด่นระดับประเทศ”จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น        
   15 มกราคม 2553 รับรางวัล“เหรียญทองยอดเยี่ยม”จากประสื่อสุขศึกษา ระดับภาคกลาง (ทม.กาญจนบุรี)
        
   16
  มกราคม พ.ศ. 2553  รับรางวัลเหรียญเงิน “หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรมหลักสูตร   Junior  scout”จากสำนักเลขาธิการคุรุสภา   

รางวัลที่ภูมิใจ
  คือ ได้รับการคัดเลือกจากนักเรียน ให้เป็น “ครูดีที่หนูรัก” ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบัน 
ผลงานวิชาการที่ผลิตขึ้น         
   คู่มือ
  การสอนเต้นแอโรบิค ระดับก่อนประถมศึกษา          
   คู่มือ การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะระดับก่อนประถมศึกษา
         
   คู่มือ การจัดกิจกรรมเสริมคุณธรรม
Mini scout         
   คู่มือ การจัดกิจกรรมวงกลม ระดับก่อนประถมศึกษา
         
   คู่มือ การวัดสมรรถภาพทางกลไกนักกีฬาวอลเลย์บอล
         
   คู่มือ การเต้นแอโรบิค ระดับประชาชน
         
   คู่มือ การสอนว่ายน้ำให้เป็นเร็ว
 

เพลงประกอบบทเรียน
         
   งานวิจัย เรื่องสมรรถภาพกลไกของนักกีฬาวอลเลย์บอล อายุ 13
  ปี ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         
   งานวิจัย เรื่องสมรรถภาพกลไกของนักเรียนอายุ 13
  ปี ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนคร นนทบุรี         
   งานวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ ของนักเรียนอายุ 9
13 ปี  ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี         

   งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้บทเพลงประกอบวิชาสุขศึกษา ชั้น ป. 1-3
 
ผลงานเพื่อเผยแพร่         
   หลักสูตร กิจกรรม
  Junior scout         
   แผ่น
CD เพลง กิจกรรม  Junior scout         
   แผ่น
CD เพลงประกอบบทเรียน         
   แผ่น
CD เพลงกิจกรรมเคลื่อนไหว         
   แผ่น
CD เพลงประกอบวิชาสุขศึกษา 

ผลงานวิจัยในชั้นเรียน
  โดยใช้กระบวนการ DIPCSC         
   เรื่อง
  “เด็กดื้อ”         
   เรื่อง “เด็กจีบมือไม่ตึง”
         
   เรื่อง “การเรียนรู้สุขศึกษาด้วยเสียงเพลง
         
   เรื่อง “การรับผิดชอบงานด้วยการเขียนหนังสือ”
 

เป็นวิทยากร
         
   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
         
   กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ
         
   การสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน “ลูกเสือ”
          Junior  scout , สำรอง ,สามัญ 

การประยุกต์ใช้
ในการที่เราจะสอนผู้อื่นให้มีความรู้ได้นั้นสิ่งแรกคือการที่เราต้องมีความรู้ในศาสตร์นั้นก่อนให้ชัดเจนและต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเมื่อเรามีความพร้อมก็จะสามารถที่จะนำความรู้ไปสอนผู้อื่นให้มีความรู้ได้ และในการสอนนั้นเราก็จะต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมการสอนที่หลากหลาย สื่อต่างๆนำมาสอนนักเรียน

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4



สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
1. วิเคราะห์งาน
2. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3. วางแผนการทำงาน
4. แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
5. ปฏิบัติจริงตามแผน
6. ติดตามผลและนิเทศงาน
7. ประเมินขั้นสุดท้าย
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
แรงจูงใจของมนุษย์
 ธรรมชาติของมนุษย์
2.นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การที่จะทำงานให้ทีมมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องรู้นิสัยจักตนเองและรู้นิสัยจักผู้อื่น และสามารถร่วมกลุ่มกันทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และสมาชิกทุกคนต้องทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ความคิด  เพื่อที่จะได้งานที่มีประสิทธิภาพและทุกคนในทีมจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่เราทำสำเร็จนั้นเป็นผลงานที่เกิดจากการทำงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง


กิจกรรมที่ 3


1.   การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน และจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้   การศึกษาจะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น ทำให้มนุษย์ในยุคนี้ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ถ้าคนใดจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย

ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ในยุคนี้การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร ในยุคนี้ มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว

2.   ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียนและเนื้อหาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน สามารถเลือกเนื้อหาที่มีความทันสมัยมาใช้ใช้สอนนักเรียน ค้นหาความรู้ได้ตลอดและสามารถขยายผลความรู้นั้นไปสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปได้และจะต้องมีความรู้ในเรื่องต่างให้มากขึ้น นอกจากความรู้ในศาสตร์ของตนเองแล้วเพื่อที่จะได้พัฒนาการสอนให้ดีขึ้นจะต้องศึกษาศาสตร์ต่างๆเพิ่มเติม เพราะโลกของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอเพื่อเป็นครูที่ดีในอนาคต  


กิจกรรมที่ 2


ทฤษฏีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ
โดยมาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต  (Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม
 มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎีนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลย ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าพอเราจะได้ผลประโยชน์จากใครก็มองเขาดีไปหมด ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่ดีไปเสียทุกอย่าง แต่พอได้ผลประโยชน์ไปแล้วหรือเป็นคนที่ไม่มีผลประโยชน์สำหรับเราแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะไม่ดีไปเสียทั้งหมด ถึงแม้ว่าที่จริงแล้วเขาก็ไม่ใช่คนที่เลวร้ายนัก
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y

William Ouchi : ทฤษฎี Z
        ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไร เป็นคนคิดขึ้นมา
วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1. ใช้วิธีแบบ Long Term Employment  หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น  ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2. จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility  คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3. ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ

 Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
            Henri Fayol (1841-1925) เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1.  การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)

อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)
         อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work) การจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests)
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความสามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับ
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสุดอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม
11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน

 Max  Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
              แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy) โดยสำนักงานหรือตำแหน่งต่างๆถูกจัดให้เป็นลำดับชั้น โดยสำนักงานและตำแหน่งงานที่อยู่ใต้หน่วยงาน หรือตำแหน่งงานนั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลในระดับสูงขึ้นไป
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection) ทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงานนั้นจะถูกคัดเลือกมาตามความสามารถและคุณสมบัติซึ่งแสดงให้เห็นได้ด้วยการฝึกอบรม การศึกษาที่ได้รับ และการจัดให้มีระบบการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และการกำกับการทำงานของพนักงาน ผู้ทำหน้าที่ด้านการจัดการจึงต้องมีกฏเกณฑ์เอาไว้เพื่อเป็นการกำกับพฤติกรรมของทั้งสองฝ่าย
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality หมายถึงการไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ไม่มีการถือเอาสายสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นใหญ่ ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถ้าจะทำอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) โดยฝ่ายบริหารเองก็ไม่ใช่เจ้าขององค์การ แต่เป็นนักบริหารหรือนักจัดการที่เข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของตน โดยแยกความผูกพันและความเป็นเจ้าของออกจากกัน คนทำงานแต่ละระดับก็ได้รับอัตราค่าตอบแทนอย่างเป็นระบบ มีเลื่อนขั้น และการเติบโตภายในหน่วยงานได้ตามลำดับ

Luther Gulick : POSDCORB
           Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
B คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผนและการควบคุมด้านการเงินการบัญชี

 Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
 เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* การบังคับบัญชา
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2. ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* การได้รับการยอมรับ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
* ความก้าวหน้าในงาน
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอกหรือพูดให้ง่าย ๆ ก็ต้องบอกว่าปัจจัยภายนอกจะทำให้คนพึงพอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก ส่วนปัจจัยภายในจะก่อให้เกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
         เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ

Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
 Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studiesแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ ศึกษาในเรื่องของเวลาและการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองช่างเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในยุคปัจจุบันการลดรอบการทำงาน หรือการลดระยะเวลาการทำงานเพื่อให้ได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมคือสิ่งจำเป็นที่หลายหน่วยงานจะต้องทำ ถือว่าเป็นเรื่องของการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน สำคัญถึงขนาดจะต้องทำสัญญาต่อกันเลยว่าจะต้องปฏิบัติให้ได้ ถ้าทำไม่ถึงเกณฑ์ก็จะอดโบนัส หรือได้น้อยลงไป